ไส้กรองอากาศ (Air filter)
ไส้กรองอากาศมีหน้าที่สำคัญ คือ ดักฝุ่นละอองและสิ่งสกปรกไม่ให้เข้าไปในเครื่องยนต์ แต่เมื่อใช้งานไปนาน ๆ อาจทำให้เกิดอาการอุดตัน ส่งผลให้อากาศผ่านเข้าไปในกระบอกสูบได้น้อยลง ทำให้การเผาไหม้ในห้องเครื่องยนต์ไม่สมบูรณ์ ปกติเราควรเปลี่ยนไส้กรองอากาศทุก 20,000 กิโลเมตร หรือมากกว่านั้นหากขับขี่รถในบริเวณที่มีฝุ่นมากเป็นประจำ เมื่อไส้กรองอากาศสกปรกจะสามารถสังเกตอาการของรถยนต์ได้ ดังนี้
1. เครื่องยนต์กำลังตก
2. เครื่องยนต์สั่น
3. สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงมากกว่าปกติ
4. ควันไอเสียมีสีดำ
โดยทั่วไปปริมาณอากาศที่ใช้ในการเผาไหม้ของเครื่องยนต์นั้นมี น้ำหนักประมาณ 15 เท่าของน้ำมันเชื้อเพลิงหรือประมาณ 100-200 ลบ.ฟุต ต่อนาที ซึ่งนับว่ามีปริมาณค่อนข้างเยอะทีเดียว หากมีฝุ่นผงสิ่งสกปรกปะปนอยู่ในอากาศ และสิ่งเหล่านี้เข้าไปในห้องเผาไหม้ จะทำให้เกิดการสึกหรอในเครื่องยนต์สูง จากอายุการใช้งาน 200,000 กม. อาจจะลดลงมาเหลือแค่ 50,000 กม. ก็เป็นได้ ด้วยเหตุนี้จึงต้องมี “ไส้กรองอากาศ” เอาไว้กรองหรือกักเก็บ สิ่งเหล่านี้เอาไว้ ไม่ให้เล็ดลอดเข้าไปในห้องเผาไหม้
นอกจากนั้น ไส้กรองยังมีส่วนช่วยลดเสียงดังที่เกิดขึ้นจากเครื่องยนต์ดูดอากาศเข้าไปอีกด้วย โดยไส้กรองจะทำหน้าที่เป็นผนังกั้นเสียงของลมที่ลูกสูบดูดเข้าไปในห้องเผาไหม้ทางท่อไอดีไส้กรองอากาศของรถยนต์ ที่นิยมใช้งานส่วนใหญ่ มีอยู่ 2 ชนิด คือ แบบเปียก และแบบแห้ง
ไส้กรองอากาศแบบเปียก
ไส้กรองแบบเปียก หรือ “ไส้กรองแบบน้ำมัน” ใช้น้ำมันเป็นตัวจัดการกับฝุ่นผง ซึ่งนิยมใช้กันอยู่ ในรถรุ่นเก่าอย่างรถเบนซ์ยุค “หลังเต่า” หรือ “หลังคาโค้ง” สมัยทศวรรษที่ 50 หรือในรถโฟล์ค “เต่า” ลักษณะของไส้กรองแบบเปียกจะมีน้ำมันหล่อไว้ภายใน อากาศจะไหลผ่านไปในหม้อกรอง ลงสู่ด้านล่างที่มีน้ำมันขังอยู่ เศษฝุ่นผง ที่หนักกว่าจะวิ่งไปสู่น้ำมันและถูกจับเอาไว้ พร้อมกันนั้นอากาศที่วนกลับขึ้นสู่ด้านบนก็จะพาเอาละอองน้ำมันเป็นฝอยเล็ก ๆ ติดไปด้วย ฝุ่นละอองในอากาศจะเกาะกับฝอยน้ำมันเหล่านั้น เมื่อผ่านตะแกรงโลหะก็จะถูกกรองเอาไว้ ต่อจากนั้นอากาศจะวนกลับลงมาอีกครั้ง เข้าสู่ใจกลางหม้อกรองแล้วเข้าสู่ห้องเผาไหม้
ไส้กรองอากาศแบบแห้ง
ไส้กรองอากาศแบบแห้งส่วนใหญ่จะทำจากกระดาษกรองพับเป็นครีบ หรือบางทีก็ทำด้วยเส้นใยสังเคราะห์ รถรุ่นใหม่นิยมใช้ไส้กรองแบบนี้มาก เพราะมีน้ำหนักเบาใช้เนื้อที่น้อย หรือสามารถออกแบบในลักษณะต่างๆ เก็บไว้ตามที่ว่างได้ง่าย และไม่ยุ่งยากในการทำความสะอาด หรือเปลี่ยนใหม่
อย่างไรก็ตามระหว่างการใช้งานที่ยังไม่ถึงเวลาเปลี่ยนไส้กรอง เราก็ควรถอดออกมาทำความสะอาด ทุกๆ 2,000-5,000 กม. โดยขึ้นอยู่กับการใช้งาน เช่น ถ้าขับรถยนต์อยู่ในเมืองเป็นประจำ หรือใช้งานในเส้นทางที่มีฝุ่นมาก ก็ควรทำความสะอาดบ่อยครั้งกว่า ถ้าเป็นไส้กรองแบบเปียกควรถอดออกมาล้างและเปลี่ยนน้ำมัน ส่วนพวกไส้กรองอากาศแบบแห้ง ชนิดที่ไส้กรองเป็นกระดาษธรรมดาสามารถนำมาเป่าทำความสะอาดได้โดยเป่าจากภายในออกสู่ภายนอก ถ้าเป่าย้อนทางจากภายนอกเข้าสู่ด้านใน ลมที่เป่าจะดันให้ละอองให้ฝังตัวลึกเข้าไปอีก ทำให้ไส้กรองอุดตันเร็วและมากกว่าเดิม
ไส้กรองอากาศแบบแห้ง สามารถแบ่งตามลักษณะออกเป็น 2 ประเภทคือ แบบที่เป็นกระดาษกรอง หรือเส้นใยตามธรรมดา กับแบบที่มีน้ำยาเคลือบกระดาษกรองเอาไว้ เพื่อเพิ่มคุณสมบัติในการดักจับสิ่งสกปรกให้ดีขึ้น ลักษณะคล้ายๆ กับพวกไส้กรองแบบเปียกนั่นเอง แต่ผู้ผลิตจะเคลือบน้ำยามาให้เรียบร้อย ไม่ต้องมาชโลมเองกันภายหลัง เมื่อไส้กรองอากาศผ่านการใช้งานไประยะหนึ่ง สิ่งสกปรกที่ติดอยู่กับไส้กรองก็จะทำให้ไส้กรองอุดตัน อากาศไม่สามารถผ่านเข้าไปในห้องเผาไหม้ได้สะดวกและมากเท่าที่ควร เครื่องยนต์มีอัตราเร่งลดต่ำลงพร้อมทั้งมีอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงสูงขึ้น จึงต้องทำการเปลี่ยนไส้กรองหรือทำความสะอาดไส้กรอง โดยทั่วไปไส้กรองอากาศนี้จะมีอายุการใช้งานประมาณ 10,000 กม. หรือ ตามที่บริษัทรถกำหนดไว้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.cockpit.co.th/accessories.aspx?accessoriesID=4


ไส้กรอง
ไส้กรองน้ำมันเครื่อง
หลายๆ คนอาจจะเคยได้ยินเรื่อง ไส้กรองน้ำมันเครื่อง (Oil Filter) ที่จะเปลี่ยนทุกๆ ครั้งที่มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันหล่อลื่น เนื่องจาก เวลาที่น้ำมันหล่อลื่นทำงาน จะไปสัมผัสกับบริเวณรอยต่อของอุปกรณ์ที่ทำจากโลหะเสียดสีกัน ทำให้เกิดความร้อน และการสึกหรอตามมา
วันนี้ทางเว็บไซต์ ฟิล์มกรองแสงรถยนต์ 3เอ็ม ออโต้ฟิล์ม คลับ (3M Auto Film Club) ก็มีความรู้เด็ดๆ มาฝากคนรักรถกับตอน เรื่องน่ารู้.. ไส้กรองน้ำมันเครื่อง !! หลังจากได้แนะนำความรู้เรื่อง น้ำมันหล่อลื่นเกียร์รถยนต์ คืออะไร !? ไปในตอนที่แล้ว
โดยปกติแล้ว น้ำมันเครื่อง ที่ดีจะช่วยลดการสึกหรอให้เหลือน้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม เมื่อโลหะ 2 ชิ้นเสียดสีกัน ก็จะเกิดอนุภาคโลหะปะปนมากับน้ำมันหล่อลื่น รวมทั้งเขม่าควันที่หลงเหลือ ไหลลงสู่ก้นอ่างน้ำมันหล่อลื่น กรองน้ำมันหล่อลื่น จะติดตั้งอยู่ระหว่างทางก่อนส่งน้ำมันไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ของเครื่องยนต์ เพื่อทำหน้าที่ กรองสิ่งสกปรก และอนุภาคโลหะที่แฝงอยู่
หลายๆ ครั้งก็มีผู้ใช้รถยนต์จำนวนไม่น้อย ที่ใช้ ไส้กรองน้ำมันเครื่องของเทียม โดยคิดว่ามันไม่ใช่เรื่องสำคัญ เพราะแค่เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง และไส้กรองก็พอแล้ว จะแท้จะเทียมก็คงเหมือนกัน ซึ่งจริงๆ แล้วความคิดเหล่านี้เป็นความคิดที่ผิดมหันต์เลยทีเดียว
ไส้กรองน้ำมันเครื่องเทียม อาจจะไม่ได้ทำให้รถเสียหายในทันที แต่มีผลต่ออายุการใช้งานของเครื่องยนต์อย่างแน่นอนซึ่งในตัวไส้กรองนั้นจะประกอบไปด้วย บายพาส วาล์ว (Bypass Valve) หรือ เซฟตี้ วาล์ว (Safety Valve) ที่ทำหน้าที่ระบายน้ำมันเครื่องไปสู่จุดต่างๆ ในเครื่องยนต์
ใน ไส้กรองน้ำมันเครื่องเทียม นั้น เจ้าวาล์วตัวนี้สปริงที่ใช้จะไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งถ้าแข็งเกินไป เวลากรองตัน ก็อาจทำให้น้ำมันเครื่องไม่พอไปหล่อเลี้ยงเครื่องยนต์ หรือในทางกลับกัน ถ้าสปริงอ่อนเกินไป วาล์วเกิดเปิดเร็วกว่าที่ควร น้ำมันเครื่องที่ไปหล่อลื่น จะไม่มีการกรองใดๆ ทั้งสิ้น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://202.142.223.165/~mautofilm/migrate_knowledge_detail.php?knowledge_id=212


Auto Parts Knowledge
ความรู้เกี่ยวกับอะไหล่
สายพาน
สายพานเป็นอุปรณ์อยู่หนึ่งที่ใช้ในการถ่ายทอดกำลังจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ซึ่งขึ้นอยู่กับการออกแบบและความเหมาะสม โดยปกติแล้ววีธีที่ใช้ในการถ่ายทอดกำลังเชิงกลที่นิยมใช้กันมีดังนี้
- ถ่ายทอดกำลังโดยใช้เฟือง
- ถ่ายทอดกำลังโดยการคับปลิ้ง(Coupling) หรือที่เรียกว่ายอย(เพลากลาง)
- ถ่ายทอดกำลังโดยใช้เพลา
- ถ่ายทอดกำลังโดยใช้ลูกเบี้ยว
- ถ่ายทอดกำลังโดยใช้สายพาน
- ถ่ายทอดกำลังโดยใช้โซ่
- ถ่ายทอดกำลังโดยใช้น้ำมัน
- ถ่ายทอดกำลังโดยใช้สาย เช่น สายเบรกมือ, สายคลัตช์(ในรถบางรุ่น)
ชนิดของสายพานที่ใช้ในรถยนต์
- สายพานแบบ V (V-Belts) ขนาดที่ใช้กันส่วนมากคือ 9.5 และ 12.5 เช่น 9.5*1000
9.5 คือ ความกว้างของสันสายพานด้านนอก (มม.)
1000 คือ ความยาวด้านนอกของสายพาน (มม.)
- สายพานแบบร่อง V (V-Multi-Ribbed Belts) ส่วนมากที่ใช้กันจะมี 3-6 ร่อง(3PK-6PK) ตัวอย่างเช่น 4PK870
4 คือ เป็นสายพานแบบ 4 ร่องฟัน
PK คือ ขนาดมาตรฐานของสายพาน (section) แบบ PK
870 คือ ความยาวของสายพานด้านนอก มีหน่วยเป็นมิลลิเมตร
- สายพานแบบ Synchronous (Synchronous Drive Belts) จะเป็นสายพานในรูปแบบของสายพานไทม์มิ่ง
คุณสมบัติของสายพานที่ดี
- ทนต่อน้ำมันเครื่อง
- ทนความร้อนได้สูง
- ยืดหยุ่นได้ดี
- ไม่นำไฟฟ้า
สิ่งที่ควรตรวจสอบเกี่ยวกับสายพาน
- รอยแตก ฉีดขาด
- ความตึง-หย่อน
- เสียงดังที่เกิดจากลูกปืนลูกลอกสายพาน
- เสียงดังจากตัวสายพาน
- เกิดเสียงดังขณะติดเครื่องยนต์ใหม่ๆ และดังสักพักหนึ่งแล้วเงียบไปเมื่อเครื่องร้อนแสดงว่าสายพานแห้ง ให้เปลี่ยนใหม่
แก้เสียงดังจากสายพานได้โดยใช้สบู่ถูที่บริเวณด้านข้างของสายพานให้ทั่ว
การใส่สายพานที่ผิดและสภาพสายพานที่หมดอายุ
ผลจากการที่สายพานหย่อน
- ถ้าสายพานหย่อนเกินไปจะทำให้มีเสียงดังขณะเร่งเครื่อง
- ปั๊มน้ำหมุนช้า ทำให้เครื่องยนต์ร้อน
- ไดชาร์ทหมุนช้าทำให้ไฟชาร์จเช้าแบตเตอรี่ไม่เพียงพอ
- ต้องใช้แรงในการเหยียบเบรกมากขึ้น (สำหรับรถยนต์เครื่องดีเซล)
ไม่ควรปล่อยให้สายพานชำรุดจนขาดแล้วจึงทำการเปลี่ยน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.truck2hand.com/index.php?actions=board/view&topic_id=2359
ตัวอย่างชนิดของสายพานรถยนต์ต่างๆ
- สายพานร่อง V แบบ A และ M เป็นสายพานที่ใช้ถ่ายทอดกำลัง ที่ใช้อย่างแพร่หลายที่สุด ส่วนใหญ่จะมีขนาดหน้ากว้าง 9.5 และ 12.5 มิล
- สายพานร่อง V ตามยาว เป็นสายพานที่รวมข้อดีทางด้านความยืดหยุ่นในการงอตัว (Flexibility) ของสายพานแบบแบน (Flat belt) กับประสิทธิภาพในการส่งกำลังของสายพานร่องวี (V-Belt)
- สายพานราวลิ้น(สายพานฟันเฟือง)
- สายพานร่อง V แบบ B เป็นสายพานที่ใช้ในการส่งกำลังที่มีหน้ากว้างกว่าแบบ A ทำให้รับโหลดได้สูงกว่า ส่วนใหญ่่จะมีหน้ากว้า 17 มิล
- สายพานร่อง V แบบ B มีฟันเฟือง(Raw Edge V Belts) ส่วนใหญ่่จะมีหน้ากว้า 17 มิล
- สายพานราวลิ้น(สายพานฟันเฟือง)







สายพาน
ผู้จัดจำหน่ายอะไหล่ยนต์